21 ธันวาคม 2551

- แนะนำพจนานุกรมดีมากๆ

มีอยู่วันหนึ่งมีนักศึกษาที่เรียนจบไปแล้ว โทรศัพท์มาถามเกี่ยวกับพจนานุกรมแปลศัพท์ที่ดีๆ ครับ.....ก็มีทั้งฟรีและเสียเงิน คุณสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในการทำงาน เตรียมตัวสอบเพื่อเรียนหรือทำงานก็ได้ มีทั้งอยู่ 4 แหล่งครับ ดังนี้


1. Dictionary จากโปรแกรม MS Word
ถือว่าเป็นพจนานุกรมที่ใกล้ตัวที่สุดและใช้งานก็ง่ายสุด เพียงแค่มีโปรแกรม Microsoft Office Word ก็สามารถเรียกดูได้ โดยการเลือกคำที่อยากจะรู้ และกด Shift + F7 จะพบ "อรรถาภิธานหรือพจนานุกรมคำฟ้อง (Thesaurus)" ขึ้นมาให้


นอกจากนี้ถ้า MS Word ฉบับภาษาไทย สามารถเลือกดูคำแปลอังกฤษเป็นภาษาไทยได้ด้วย
.
หมายเหตุ ถ้าใครทำตามขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังไม่ขึ้นให้ จะต้องใส่แผ่นโปรแกรม MS Office เพื่อทำการติดตั้ง Thesaurus ซึ่งจะเป็นการติดตั้งโดยอัตโนมัติ เมื่อกด Shift + F7


2. Dictionary - Babylon version 7.0.0 (หรือใหม่กว่านี้ )
เป็นอีกหนึ่งตัวที่ผมใช้ ค่อนข้างละเอียด มีตัวอย่างให้ด้วย และสามารถตั้งคีย์ลัดได้ในช่วงของการลงโปรแกรม เช่น กด Shift + Right Click หรือ Ctrl + Right Click เป็นต้น


ขอพูดการดาวน์โหลดโปรแกรมแบบถูกกฎหมายก่อน
  • แบบที่ 1 คือ ทดลองใช้งานฟรี 30 วัน จากเว็บไซต์ต้นฉบับ http://www.babylon.com/
  • แบบที่ 2 คือ ซื้อมาใช้เลย หลังจากที่ใช้ของทดลองจนติดใจ
.
ต่อมาขอพูดแบบซิกแซก คือ
  • แบบที่ 3 ให้เปิด http://www.google.com/ และค้นหาคำว่า "Portable Babylon" ดูแล้วหา download เอาเองครับ เมื่อหาและdownload มาใช้ได้แล้ว อย่าลืมเข้าไปตั้งในส่วนของ "Connection" ตามรูปด้วย เพื่อไม่ให้มีการเชื่อมต่อระบบทางอินเตอร์เน็ต

  • แบบที่ 4 ถ้ารู้จักผมเป็นมาส่วนตัว ก็ email มาขอแล้วกันนะครับ
.
หมายเหตุ

- สำหรับแบบที่ 3 จะเป็นแบบไม่ต้องติดตั้งลงเครื่องคอมพิวเตอร์ จะเป็นแบบพกพา (Portable)
- โปรแกรม Babylon สามารถเพิ่มชนิดของ Dictionary ได้ด้วย เช่น Longman, Oxford, Loy's Dictionary
- โปรแกรม Babylon ถ้าลงดีๆ จะสามารถพูดได้ด้วย


3. Longman Dictionary of Contemporary English
ต้องกล่าวว่า เป็นพจนานุกรมที่ดีมากที่สุดเท่าที่ผมเคยใช้มาเลย (Numerber One) แต่ต้องลงทุนสักหน่อย ประโยชน์ที่ได้รับคุ้มค่ามากๆ ตอนที่ผมเตรียมตัวสอบภาษาเพื่อไปเรียนต่อ ผมใช้ตัวนี้หาคำตอบคำอธิบายต่างๆ

พจนานุกรมตัวนี้มีอยู่สองชนิด คือ 1) เป็นตัวเล่มหนังสือ 2) CD 2 แผ่น ที่แถมมากับตัวหนังสือ ที่ผมจะเน้นคือตัว CD ซึ่งเป็นโปรแกรมเชิงอัจริยะครับ แต่ตอนไปซื้อ ต้องหาซื้อตามร้านหนังสือเป็นหลัก

สำหรับการซื้อต้องระวังผิดเล่ม เพราะในค่ายของ Longman มีหลายชนิด ผมขอแนะนำ "Longman Dictionary of Contemporary English" และมีคำว่า "WITH WRITING ASSISTANT" ในเล่มนี้จะแถม CD ให้ 2 แผ่น ราคาประมาณ 900 บาท (ผมไม่มั่นใจในเรื่องราคานะ แต่คุ้มมากๆครับ)


ลักษณะเด่น คือ

  • จุดแรก สามารถพูดออกเสียงได้อย่างถูกต้อง จะเลือกแบบ British Pronunciation หรือ American Pronunciation ก็ได้
  • จุดที่สอง แสดงรากศัพท์ (Word Origin) เพื่อช่วยในการจำและขยายศัพท์อื่นๆ
  • จุดที่สาม บ่งบอกคำที่มักใช้คู่กัน (Word Used With:) ไม่ว่าจะเป็น adjective หรือ preposition เป็นต้น
  • จุดที่สี่ แสดงประโยคตัวอย่างการใช้งานเพิ่มเติม
  • จุดที่ห้า แสดงคำที่มีความหมายเหมือน (Activate Your Language)
จุดที่หก ในบางศัพท์ได้แสดงรูปภาพ พร้อมคำใกล้เคียงขึ้นมาให้ด้วยครับ

  • จุดที่เจ็ด บางคำศัพท์ สามารถแสดงตัวอย่างที่มักใช้ผิด ซึ่งในจุดนี้จะช่วยในเรื่องการเขียนเป็นอย่างมาก และช่วยในการฝึกทำข้อสอบประเภทการระบุจุดที่ผิดพลาด ( Error Identification) รวมถึงการเลือกคำมาเติมในประโยค (Structure)

  • จุดที่แปด มีแบบทดสอบ คุณสามารถฝึกคำศัพท์ (Vocabulary) โดยมีภาพประกอบ
  • ข้อเด่นยังมีอีกค่อนข้างจะเยอะนะครับ ลองไปดูเอาเองก็แล้วกัน

หมายเหตุ ขอบอกไว้ก่อนว่า ผมไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียในเชิงพาณิชย์นะครับ


4. Dictionaries online

จากเว็บไซต์สิ่งนี้ไม่ได้พูดกันเยอะ ขอให้ต่ออินเตอร์เน็ตได้ ก็สามารถใช้ Dictionaries online จากค่ายต่างๆได้เลย

แต่มีอยู่เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถพูดออกเสียงได้ทาง online คือ Merriam-Webster


ถ้า Dictionary online ฉบับอังกฤษแปลเป็นไทย คือ Lexitron by Nectec (Eng-Thai) http://lexitron.nectec.or.th/index1.php

.

จาก dictionary ทั้งสี่แหล่งใหญ่ดังกล่าว น่าจะมีประโยชน์แก่นักศึกษาทุกๆรุ่นนะครับ

.

สุดท้ายขอขอบใจความรู้เหล่านี้ที่แฟนผมสอนผม และให้ผมมาอีกที

ผมก็ไม่ค่อยทันสมัยสักเท่าไรนัก ก็ฟังมาอีกทีครับ
.....

19 ธันวาคม 2551

ตอนที่ 2 บรรยายกาศแรกพบAIT

เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 51 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเดินทางไปที่ AIT เป็นครั้งแรกเลยก็ว่าได้ ผมเคยไปที่ อุทยานวิทยาศาสตร์ ไม่ก็ม.ธรรมศาสตร์ เคยคิดว่าจะไปแต่หาทางเข้าไม่เจอ แต่ตอนนี้เจอแล้วครับ



ต้นไม้ค่อยข้างจะเยอะ ร่มรื่นดีครับ คนไม่เยอะมาก มีสนามเทนนิสหลายสนามครับ นอกจากนี้ AIT ไม่มีหลักสูตรสำหรับปริญญาตรี จะรับเฉพาะโทและเอก เท่านั้น

หลักสูตรที่ผมจะไปเรียนนั้นคือ Industrial and Manufacturing Engineering ครับ ในตึกหลังนี้ หลังจากนั้นผมก็ได้รับเอกสารตอบรับ (Acceptance Letter) โดยจะเข้าเรียนระดับปริญญาเอกเลย ในใบนี้ได้แสดงค่าใช้จ่ายเบื้องต้นไว้ด้วยครับ ผมได้แนบมาให้ดูด้วย เผื่อว่าผู้อ่านจะสนใจมาเรียนกัน แต่ค่าใช้จ่ายระดับปริญญาโทลองตรวจสอบในเว็บไซต์ของ AIT ดูเองนะครับ
ปกติผมได้รับทุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว แต่ผมยังสามารถขอทุน RTG Fellowshipsได้อีกด้วยสูงสุดถึง 56 หน่วยกิต ผมได้แนบรายละเอียดเบื้องต้นมาให้ดูด้วยครับ
---

ผู้ที่สนใจสามารถหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ait.ac.th/


...

18 ธันวาคม 2551

ตอนที่ 1 ลาเรียนต่อที่ AIT

ก่อนอื่นนั้นผมขอเกริ่นนำก่อน หลังจากที่ได้รับทุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศ ผมก็เริ่มเตรียมตัวภาษา ไปสอบ TOEFL (http://www.ets.org/) เพื่อไปยื่นสมัครเข้ามหาวิทยาลัยต่างประเทศ

เมื่อต้นปี พ.ศ. 2551 ผมได้สนใจอยากจะไปเรียนประเทศอังกฤษ



จุดเด่นที่เรียนต่อประเทศอังกฤษ คือ


- มีหลักสูตรที่ชื่อค่อนข้างจะไพเราะ เช่น MSc Supply Chain Management, MSc Logistics Engineering, MSc Knowledge Management เป็นต้น
(แต่ไม่มีหลักสูตรที่ชื่อว่า Industrial Engineering เลย ถ้ามีก็จะมีเพียงแค่ที่เดียว (ถ้าจำไม่ผิด) หรือไม่ก็แฝงอยู่ใน Manufacturing Engineering แทนครับ )
- และเรียนระดับปริญญาโทเพียงแค่ 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง เอง
- นอกจากนี้การสมัครเรียนสามารถสมัครผ่านตัวแทนที่อยู่ภายในประเทศไทยได้ง่าย

ในช่วงนั้นผมสมัครไป 4 มหาวิทยาลัย ก็ตอบรับอย่างแน่นอนมา 3 ที่ เช่น University of Exeter (http://www.exeter.ac.uk/) เป็นต้น



หลังจากนั้นประมาณกลางปีผมก็ตัดสินใจจะไปประเทศอเมริกาแทน (ทิ้งUK ไปเป็น US)
แต่การจะไปเรียนที่ USA นั้น ทางด้านวิศวกรรมจะต้องสอบ GRE เพิ่มอีกตัว ก็เตรียมตัวสอบและไปสอบ ก็ได้คะแนนมา

ผมสมัครเรียนจริงๆไป 2 ที่ คือ 1) Clemson University และ 2) University of Southern California(USC)



สุดท้ายก็ได้รับใบตอบรับ (Acceptance Letter) ทั้ง 2 ที่ครับ โดยที่ Clemson ตอบรับมาก่อน โดยที่ผมได้ อ.ดร. ฤดี ที่ภาควิชาวิศวกรรมวัดคุม สจล. ช่วยแนะนำให้ครับ ในตอนนั้นก็ตั้งใจจะไป Clemson U. ค่อนข้างจะแน่นอนมากๆ

จากนั้นทำการดำเนินเรื่องต่างๆ รวมถึงการจองตั๋วเครื่องบิน หาที่เที่ยว หาคนมารับที่สนามบิน หาที่พัก เป็นต้น กะว่าจะเดินทางในช่วงตุลาคม 2551 โดยจะบินไปลงที่ Atlanta, GA


และตอนท้ายก็ที่ USC ก็ตอบรับกลับมาครับ



แต่แล้ว "ชีวิตคือสิ่งที่ไม่แน่นอนจริงๆครับ" ผมได้ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงมาเรียนภายในประเทศไทยครับ (ทิ้ง UK ทิ้ง US มาเป็น Thailand) เหตุผลผมขอละไว้นะครับ

สุดท้าย ผมรีบสมัครเรียนที่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology ) หรือเรียกสั้นๆว่า AIT แน่นอนครับเป็นหลักสูตรนานาชาติ


ผมก็ได้รับใบตอบรับ และจะเข้าเรียนในระดับปริญญาเอก (Doctor) ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2552 เป็นต้นไป ประมาณ 3-4 ปี โดยลางานที่ลาดกระบัง เพื่อเรียนต่อแบบเต็มเวลาครับ เมื่อเรียนจบก็จะกลับมาทำงานเหมือนเดิมครับ

...

02 ตุลาคม 2551

- แรงบันดาลใจการสร้างบล็อกนี้

สวัสดีครับผู้อ่านทุกคน เข้าใจว่าส่วนใหญ่ก็น่าจะเป็นชาว IE ลาดกระบังกันที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอยินดีต้อนรับด้วยใจจริงนะครับ



ปกติแล้วเวลามีข่าวสารเกี่ยวกับภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ที่พระจอมเกล้าฯลาดกระบัง ผมก็จะประกาศผ่านเว็บไซต์ภาควิชา ฯ www.kmitl.ac.th/ie



แต่เนื่องจากช่วงหลัง ผมต้องเตรียมตัวเรียนต่อและไม่มีวิชาที่ต้องสอนที่ลาดกระบัง ดังนั้นผมจึงไม่มีอะไรไปอัพเดต แต่อย่างไรก็ตามข่าวสารต่างๆ มักจะประกาศไว้ที่บอร์ดชั้นที่ 1 ของภาควิชาฯอยู่ (บอร์ดภาคชั้นที่ 1)

นอกจากนี้ให้ติดตามในเว็บไซต์ iestory ของอาจารย์สรรพสิทธิ์ (พี่เต่า) ได้เลยนะครับ

เล่มที่ 1 http://iestory.blogspot.com/

เล่มที่ 2 (ล่าสุด) http://iestory2.blogspot.com/





เว็บบล็อกของผมนี้จัดทำขึ้น แบบไม่เป็นทางการ เพื่อเล่าเรื่องราวต่างๆ เช่น

- แชร์ประสบการณ์ดีๆ เกร็ดความรู้ เรื่องต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนต่อ สัมภาษณ์งาน หรือของฝากแก่นักศึกษาชาย (เอกสารการบวช) เป็นต้น
- ความประทับใจในภาควิชาฯ ทั้งแอบยิ้มแอบตลกเล็กน้อย ตลอด 3 ปี 9 เดือน ตลอดการทำงานที่นี่
- และอื่นๆ ครอบครัว แฟน เป็นต้น


ณ ตอนนี้มีประมาณ 6-8 เรื่องเท่านั้นเอง ที่อยากจะเล่าสู่กันฟัง

ข้อเด่นของเว็บบล็อกนี้ คือ ไม่ต้องติดตามบ่อย

เพราะผมคงไม่ได้เขียนบ่อยนัก อาจจะเดือนละครั้ง หรือปีละครั้ง โดยในแต่ละบทความก็สั้นบ้างยาวบ้างครับ

30 กันยายน 2551

- สิริเกษมสุข ( Sirikasemsuk )


อาจารย์ กิตติวัฒน์ สิริเกษมสุข
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณลาดกระบัง

วุฒิการศึกษา
- วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯลาดกระบัง

หมายเหตุ
2552 -ปัจจุบัน ลาเรียนต่อระดับปริญญาเอกที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology :AIT)

ความสนใจ
- การบริหารและการประกันคุณภาพ (Quality Management&Assurance)
- สถิติวิศวกรรมศาสตร์ (Statistics Engineering)
- การออกแบบการทดลอง (Design of Experiment:DOE)
- การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
- เทคนิก ซิก ซิกม่า (Six Sigma)
- การจัดการองค์ความรู้ (KM)
- การผลิตแบบทันเวลา (Just in Time)
- การวางแผนและควบคุมการผลิต (Production Planning and Control)
- การลำจองระบบทางวิศวกรรมศาสตร์ (Simulation Engineering)

การตีพิมพ์บทความ
- กิตติวัฒน์ สิริเกษมสุข และ พรศักดิ์ อรรถวานิช. การวางแผนการบริหารความรู้สำหรับภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สจล. (KNOWLEDGE MANAGEMENT PLANNING FOR DEPARTMENT OF INDUSTRIAL ENGINEERING AT KMITL), การประชุมวิชาการ วิศวศึกษา ครั้งที่6 บูรณาการและการพัฒนาคุณภาพแห่งการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิศวกรรม, 8-10 พฤษภาคม 2551 หน้า 183-189 ณ โรงแรมลองบีช ชะอำ จ.เพชรบุรี
.
- กิตติวัฒน์ สิริเกษมสุข และ พรศักดิ์ อรรถวานิช. การปรับปรุงคุณภาพสำหรับห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สจล. (QUALITY IMPROVEMENT OF COMPUTER ROOM IN INDUSTRIAL ENGINEERING OF KMITL), The 7 th Symposium on TQM–Best Practices in Thailand, 30–31 มีนาคม 2549 หน้า 97 – 112 ณ โรงแรมเซนจูรี่พาร์ค ถนนราชปรารภ กรุงเทพฯ
.
- กิตติวัฒน์ สิริเกษมสุข และ พรศักดิ์ อรรถวานิช. การปรับปรุงการจัดส่งชิ้นส่วนรถยนต์ที่ล่าช้าด้วยเทคนิคคิวซีสตอรี่ (IMPROVEMENT OF A DELAY IN AUTOMOTIVE PARTS DELIVERY BY QC STORY), ประชุมวิชาการทางวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. ครั้งที่ 4 ประจำปี 2548 (The 4th PSU-Engineering Conference (PEC-4)) 8 - 9 ธันวาคม 2548 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
.
- สรรพสิทธิ์ ลิ่มนรรัตน์ และ กิตติวัฒน์ สิริเกษมสุข. การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการปรับปรุงคุณภาพอย่างเป็นระบบ (DEVELOPMENT OF A COMPUTER PROGRAM FOR SYSTEMATIC QUALITY IMPROVEMENT), การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2548 3–4 ตุลาคม 2548 หน้า 709–716 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ
.
- ดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย และ กิตติวัฒน์ สิริเกษมสุข. การปรับปรุงการจัดเก็บสินค้าสำหรับธุรกิจขนาดเล็กของร้านขายชิ้นส่วนทำความเย็น (IMPROVEMENT OF A INVENTORY IN SMALL-SCALE BUSINESS OF AIR-CONDITION PARTS TRADING DEALER), การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2548 3–5 ตุลาคม 2548 หน้า 545–552 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ
.
- ดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย และ กิตติวัฒน์ สิริเกษมสุข. การออกแบบระบบการบริหารคุณภาพสำหรับธุรกิจขนาดเล็กแบบครอบครัว : กรณีตัวอย่างของร้านขายชิ้นส่วนทำความเย็น (DESIGN OF QUALITY MANAGEMENT SYSTEM IN SMALL-SCALE FAMILY-BUSINESS: CASE STUDY OF AIR-CONDITION PARTS TRADING DEALER), The 6 th Symposium on TQM–Best Practices in Thailand,
24 – 26 มีนาคม 2548 หน้า 151–166 ณ โรงแรมเซนจูรี่พาร์ค ถนนราชปรารภ กรุงเทพฯ
.
- พรศักดิ์ อรรถวานิช, วิภู ศรีสืบสาย และ กิตติวัฒน์ สิริเกษมสุข. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการเขียนแบบวิศวกรรม (CAI FOR ENGINEERING DRAWING), การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2545 24–25 ตุลาคม 2545 หน้า 371–379


ติดต่อ
Email: kittiwat.sirikasemsuk@gmail.com
.
หมายเหตุ...ขอยกเลิกอีเมล์ ie@kmitl.ac.th ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป (วันที่ 21 เม.ย. 2553)
.