05 เมษายน 2552

- ของขวัญช่วงปิดเทอม "การบวช"

.
วันนี้เป็นเนื้อหาหลักที่ทำให้ผมอยากสขนาดตัวอักษรร้างบล็อกนี้ขึ้นมา เพื่อเล่าเรื่องราวต่างๆที่ผมอยากจะเผยแพร่ ความทรงจำที่ดีๆ ครั้งหนึ่งในชีวิตจริง คือ "การบวชเป็นพระ หรือการอุปสมบท"
.
เรื่องที่ 1 ประสบการณ์ของฉัน
.
เมื่อย้อนกลับไปในสมัยต่อหนุ่มๆ ตอนเรียนระดับปริญญาตรีที่พระจอมเกล้าฯลาดกระบัง อยู่ระหว่างปี 2 ขึ้นปี 3 ผมอายุ 20 ปีเลยมา 2-3 เดือน ในช่วงฤดูร้อนตอนก็ได้มีโอกาสเป็นผู้บวช โดยบวชที่วัดสมอราย หรือวัดราชาธิวาส และไปปฏิบัติธรรมที่วัดป่านาคนิมิตต์ (วัดบ้านนามน) ที่จังหวัดสกลนคร และเมื่อพูดให้ลึกลงไปอีกผมบวชในธรรมยุตนิกาย รวมเป็นเวลา 2 เดือน
รูปงานบวชที่วัดราชาธิวาส เมื่อปี พ.ศ. 2543 โดยมีสมาชิกชาวชมรมพุทธฯลาดกระบังมาช่วยงานกันอย่างหนาแน่น
รูปถ่ายหมู่ พระอุปัชฌาย์ และนักศึกษาผู้บวช หลังจากเสร็จพิธีอุปสมบทในพระอุโบสถ เมื่อปี พ.ศ. 2543
.
สำหรับวัดราชาธิวาสนั้น มีสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงก่อตั้งธรรมยุตินิกายขึ้นมา ปัจจุบันเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันคือ พระธรรมกวี (ลือชัย คุณวุฑฺโฒ) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของผมด้วย
.
วัดนี้ไม่ใช่ว่าท่านเจ้าอาวาสจะบวชให้ใครได้ง่ายๆ แต่อาศัยความเป็นนักศึกษา และชมรมพุทธศาสตร์และประเพณีของลาดกระบังที่จัดงานบวชที่นี่ทุกปี ผมจึงสามารถบวชได้ (ขอโม้เวอร์สักหน่อย)
รูปวัดราชาธิวาสวิหาร ซึ่งติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา
.

ในส่วนของวัดป่านาคนิมิตต์ ก็ไม่ใช่ว่าเป็นวัดที่โด่งดังอะไร เป็นวัดเล็กๆ ที่ภายในไม่เล็ก เป็นวัดที่หลวงปู่ท่านไม่ต้องการประชาสัมพันธ์ ไม่ต้องการให้ใครลง internet เป็นวัดที่ไม่ธรรมดา เมื่อผมได้ฟังประวัติโดยที่หลวงปู่หลายๆท่านได้มาเยือน เช่น หลวงปู่มั่น, หลวงปู่เทสก์, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร, หลวงปู่ฝั้น, หลวงตามหาบัว หลวงพ่อวิริยังค์ เป็นต้น และเป็นวัดป่าที่ต้องการความสงบจริงๆ ครับ

รูปประตูทางเข้าวัดป่านาคนิมิตต์และศาลาใหญ่
.
หลวงปู่มั่นเคยมาจำพรรษาที่นี่เป็นครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ ในครั้งนั้นชาวบ้านนามนได้สร้างกุฏิถวายองค์ท่าน รุ่งเช้าของวันที่ได้เริ่มต้นก่อสร้างปรากฏ หลวงปู่มั่นได้ชี้บอกโยมว่า "นั่นแหละ พญานาคทำ รอยไว้ให้แล้ว" ชาวบ้านไปดูเป็นรอยกลมๆ จึงนำรอยนั้นเป็นหมายในการขุดหลุมตั้งเสากุฏิ ต่อมาเมื่อจะสร้างศาลาก็ปรากฏรอยนี้อีกจึงได้ลงเสาศาลาในลอยนั้นเช่นกัน ท่านจึงพูดกับโยมว่า "วัดนี้ชื่อว่าวัดป่านาคนิมิตต์"
รูปกุฏิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่านาคนิมิตต์
.
รูปบรรยากาศรอบวัด
รูปเช้าวันหนึ่งที่วัดป่านาคนิมิตต์ ช่วงปี 2543 ในการรับบิณฑบาต
.
ก็ต้องบอกว่าครั้งหนึ่งในชีวิตจริงๆ และรู้ว่าคงยากมากๆที่จะหาโอกาเพิ่มวิดีโอสแบบนี้อีกสักครั้ง แน่นอนครับตอนลาสิกขา ผมก็แอบมีน้ำตาไหลนิดๆ ผมเป็นน้ำตาแห่งความภาคภูมิใจ
.
.
เรื่องที่ 2 ของฝากและของขวัญแก่ผู้บวชใหม่
.
ก็ intro มาพอสมควร ประเด็นในวันนี้ก็คือ ผมก็มีเอกสารประกอบการบวชมาฝาก โดยผมเป็นผู้เรียบเรียงเอง เนื้อหาภายใน ประกอบด้วย พุทธประวัติ กิจวัตรประจำวัน อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ บทสวดมนต์ที่จำเป็น เช่น คำแสดงอาบัติ คำพินทุกัปปะ คำขอขมา เป็นต้น และอื่นๆ ก็ถือว่าเป็นของขวัญที่อยากจะมอบให้ผู้ที่ต้องการบวชทั้งหลายครับ เชิญ download ได้ตามสบายนะครับ (แม้ว่าจะเป็นเอกสารสมัยนั้นแต่ก็ยังเป็นข้อความนั้นเป็นจริงอยู่ครับ)
.
ข้อแนะนำเพิ่มเติม ผู้บวชใหม่ควรจะมี "นวโกวาท" ฉบับนี้ติดตัวด้วยครับ
รูปนวโกวาทเล่มที่ผมใช้ในตอนบวชอยู่ และตอนนี้ผมก็ยังเก็บไว้อยู่
.
ถัดมาคงเป็นการเขียนบันทึกประจำวัน เพราะว่าเป็นครั้งหนึ่งในชีวิตจริง เสียเวลาในการบันทึกทุกเย็นสักหน่อย แต่คุ้มค่ามากๆในอนาคต
.
.
เรื่องที่ 3 ตัวอย่างธรรมะจากบันทึกประจำวันของข้าพเจ้า
.
ธรรมะจากหลวงปู่? เรื่อง ศีลก็เปรียบเหมือนเขื่อน
"น้ำย่อมไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ กระแสน้ำก็ต้องไหลลงสู่ทะเล เมื่อน้ำจืดไหลลงทะเลมันก็เป็นน้ำเค็ม ซึ่งมันยากนะที่จะทำน้ำเค็มให้เป็นน้ำจืดได้อีก ...
ฉะนั้นจึงต้องมีเขื่อน สร้างเขื่อนกั้นไว้ ไม่ให้น้ำจืดไปตามกระแส ไม่ให้ไหลลงสู่ที่ต่ำ ฉันใด ...
การเกิดเป็นมนุษย์ก็เช่นกัน ถ้าเราปล่อยไปตามกระแส ไปตามกิเลส มันก็จะไหลลงสู่ทะเลเป็นน้ำเค็ม ยากที่จะทำเป็นน้ำจืด พวกเราก็ยากที่จะเกิดมาเป็นมนุษย์ได้อีก ถ้าไม่สร้างเขื่อนกั้นไว้ ไม่มีศีลไม่รักษาศีลไว้ พวกเราก็จะหมุนลงไปเกิดในภพภูมิต่ำนะ (อบายภูมิ 4) "
.
ในช่วงปิดเทอมใหญ่นี้เป็นโอกาสดีที่หนุ่มๆ นักศึกษาหลายๆคนก็มักถือโอกาสที่จะบวชในช่วงฤดูร้อนกัน ผมจึงถือโอกาสเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการบวชของผมนิดหน่อย เพียงเท่านี้นะครับ
.