25 กุมภาพันธ์ 2553

- พระอริยะสงฆ์กับการอาพาธ

บทความนี้ก็คงเป็นบทความแรกของปี 2553 อายุของกระผมก็เพิ่มไปอีกหนึ่งปี จะว่าไปเวลาก็ผ่านไปเร็ว จากตอนเด็กๆก็อยากจะโตเร็วๆ จะได้เป็นผู้ใหญ่เสียที จาก 15 ก็มาเป็น 20 และตามด้วยจาก 20 ก็มาเป็น 30 และอีกไม่นานก็ตามด้วย 40, 50, ... (ถ้ายังอยู่) นั่นก็คือแก่
.
"ตอนเด็ก คนที่มีอายุ 50 ปีก็ถือว่า เป็นอายุยาวแล้วหรือว่าถ้าเรามีอายุเท่านี้ก็พอใจแล้ว แต่ตอนมาเป็นวัยเข้ากลางคน กระผมได้ไปพิจิตรไปเจอคนอายุ 50 ปีเป็นมะเร็งตาย เราก็บ่นขึ้นมาว่า 50 เองหรอ ทำไมอายุน้อยจัง"
.
ในต้นปี เดือนมกราคม ก็ได้ไปทำบุญตามโอกาส เช่น ไปวัดไผ่ล้อมที่จ.ปทุมธานีถวายสังฆทานบ้าง ไปตลาดซื้อปลาไปปล่อยบ้าง ซื้อข้าวสารให้แก่ เด็กในงานวันเด็กบ้าง ทำบุญสร้างระบบไฟฟ้าให้วัดบ้าง เป็นต้น
พระท่านว่า "การทำบุญหรือการทำความดี ด้วยการทำทานก็ไม่เท่ารักษาศีล การรักษาศีลก็ไม่เท่าทำสมาธิ นำไปสู่การเกิดปัญญาเห็นความเป็นจริง
.
หรือกล่าวโดยย่อว่า อานิสงค์ทำทาน1ครั้ง < อานิสงค์รักษาศีล1ครั้ง < อานิสงค์สมาธิ1ครั้ง < อานิสงค์จากการเกิดปัญญา (ปัญญาในที่นี้คือปัญญาในทางธรรม ไม่ใช่ปัญญาในทางโลก เรื่องวิชาความรู้ทางวิศวกรรม ทางเกษตรกรรม หรืออุตสาหกรรม ฯลฯ) . จากความเชื่อตามพระพุทธศาสนาที่ว่า คนเรายังจะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ดังนั้นทานและศีลยังถือว่า เป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่เป็นอย่างมาก เป็นการเตรียมเสบียงไว้เดินทางในอนาคต . บังเอิญว่าข้าพเจ้าได้รับหนังสือ 1 เล่ม (จริงๆก็ไได้หลายเล่มอยู่) จากชมรมพุทธธรรมกรรมฐาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รูป หอพระ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

รูป ชมรมพุทธธรรมกรรมฐาน หอพระ (ฝั่งซ้าย) ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
.
ก็เป็นหนังสือที่ดีมาก เรียบเรียงโดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ชื่อหนังสือว่า "วิธีสร้างบุญบารมี" ทำให้ข้าพเจ้ามความเข้าใจอะไรๆมากขึ้น


ขอย้อนกลับมา เมื่อกล่าวถึง "การภาวนา" หรือ "จิตภาวนา" หรือ "การพัฒนาจิต" นั่นก็คือ "การฝึกสมาธิ" สำหรับอบรมจิต และถามว่าจะได้อะไร
เขาบอกกันว่า "การฝึกจิตนั้น ในอนาคตจะไม่กลัวความตาย เมื่อเวลานั้นมาถึง"
.
สอบเข้ามหาวิทยาลัยก็เข้าได้ สอบเรียนต่อก็ทำได้ จนกระทั่งเรียนจบ เรียนหนังสือได้คะแนนเต็ม 50 หรือเต็ม 100 ก็ได้มาบ้าง (ไม่ธรรมดาจริงๆ)
.
แต่ถ้าลองกลับมาในเรื่องที่ใกล้ตัวมากๆ โดยให้ลองอยู่เฉยๆ แล้วลองดูลมหายใจตัวเอง เพียงแค่ 5 นาที โดยเพียงแค่ตามดูลมหายใจเข้า และตามดูลมหายใจออก โดยที่ห้ามคิดเรื่องอื่น โอ๋....ทำไมถึงยากจัง อย่าว่าแต่ 5 นาทีเลย เพียงแค่ 1 นาทีก็ยังยากลำบากเลยครับ นี่แหละเป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆ และลงทุนน้อยไม่ต้องเสียเงินเลยแต่พระท่านว่าได้บุญมาก
.
เมื่อตอนเรียนอยู่มหาวิทยาลัยตอนปริญญาตรี ได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า "การพัฒนาจิต" แต่งโดย พระเทพวิสุทธิกวี
เป็นหนังสืออีกเล่มครับที่ดีมากๆ เนื้อหาภายในหนังสือในบางช่วง ได้กล่าวถึงลักษณะของจิต อาทิเช่น
  • จปลํ -กวัดแกว่ง คือ ไม่หยุดอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้นาน เหมือนเด็กทารกไม่หยุดนิ่งอยู่ในอิริยาบถหนึ่งได้นาน
  • ทูรงฺคมํ -ไปได้ไกล คือ ออกรับอารมณ์ในที่ไกลได้ เช่นขณะที่ตนนั่งอยู่นี้ก็อาจคิดไปถึงประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
จริงๆแล้วตอนนั้น ข้าพเจ้าได้สรุปบางส่วน และทำการพิมพ์เพื่อเผยแพร่ ลงในเว็บไซต์ของทางชมรมพุทธศาสตร์และประเพณี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งเว็บไซต์ในส่วนของธรรมะนี้ เรียบเรียงและจัดทำโดยกระผมเอง อาจจะไม่ค่อยสวยนัก เพราะเป็นเว็บไซต์แรกที่เริ่มเขียน HTML เป็นใหม่ๆ http://www.kmitl.ac.th/buddhist/tumma/index.html

.
พูดเกริ่นมาสักยาวเลยนะครับ ผมอยากจะเพิ่มเติมเนื้อหาคือ "ตัวอย่างพระอริยะสงฆ์ที่ทนกับการอาพาธ นำไปสู่การวางขันธ์ธาตุโดยสงบ" จากหนังสือแสงธรรม ของ อาจารย์วิวัฒน์ กิรานนท์ เป็นผู้เรียบเรียง
  • แสงธรรมเล่มที่ 9 คำของท่าน ชื่อตอนว่า เจ้าคุณนรฯ (พระยานรรัตนราชมานิต) จากหน้า 53-62
  • แสงธรรมเล่มที่ 23 เย็นลออตอน รู้วันตายหลวงพ่อลี (พระอาจารย์ลี ธัมมะธะโร) จากหน้า 67-72
  • แสงธรรมเล่มที่ 25 ม่านสุรีย์_พระบ่อน้ำ (พระอาจารย์เสถียร สมาจาโร) จากหน้า 1-7
เนื้อหาทั้ง 3 เรื่อง เมื่อได้อ่านแล้ว จะวางไม่ลงจริงๆ และเนื้อหากินใจข้าพเจ้ามากๆครับ
.
เริ่มต้นด้วยแสงธรรมเล่มที่ 9 คำของท่าน ชื่อตอนว่า เจ้าคุณนรฯ (พระยานรรัตนราชมานิต) จากหน้า 53-62
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
ถัดไปคือ แสงธรรมเล่มที่ 23 เย็นลออตอน รู้วันตายหลวงพ่อลี (พระอาจารย์ลี ธัมมะธะโร) จากหน้า 67-72

.
.
.
.
.
.
.
และเล่มสุดท้ายของวันนี้ แสงธรรมเล่มที่ 25 ม่านสุรีย์_พระบ่อน้ำ (พระอาจารย์เสถียร สมาจาโร) จากหน้า 1-7
.
.
.
.
.
.
.
.
ภายในเนื้อหาทั้งสามเรื่องนี้ มีข้อคิดมากมายที่แฝงอยู่ภายใน และข้าพเจ้าคิดว่าคงไม่ได้หาอ่านกันง่ายๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำมาเผยแพร่ เพื่อเป็นธรรมทาน
.
บทความทั้งสามเรื่อง ส่งเสริมคำที่กล่าวว่า "บุคคลผู้ที่ฝึกจิตดีแล้ว จะไม่กลัวความตายอย่างแน่นอน"
.
สุดท้ายผมขอขอบคุณอาจารย์วิวัฒน์ กิรานนท์ ผู้เรียบเรียง รวมถึงขอขอบพระคุณผู้สนับสนุนการพิมพ์ทุกๆท่าน ทำให้ได้มีหนังสือแสงธรรมอ่านครับ
.
หมายเหตุ ท่านสามารถคลิกเลือกที่รูปภาพ เพื่อขยายอ่านได้ และขออภัยที่ไม่ได้เรียงตามลำดับชุดแสงธรรม
.
สวัสดีครับ
.