17 เมษายน 2553

- ครั้งแรกกับ...วัดภูจ้อก้อ

ในวันสุดท้ายในการเดินทางไปอีสานในช่วงสงกรานต์ 2553 นอกจากจะไปไหว้นมัสการพระธาตุพนม จ.นครพนม และขากลับสามารถเดินทางกลับได้หลายทาง ถ้ากลับเส้นสกลนคร-นาแก ข้าพเจ้าก็ตั้งใจจะแวะวัดป่าบ้านโคก หรือนั่นคือวัดป่าวิสุทธิธรรม ซึ่งท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ได้สร้างให้หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตอยู่จำพรรษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗
.
แต่ทางครอบครัวของข้าพเจ้าได้ตัดสินใจเดินทางผ่าน จ.มุกดาหาร เมื่อเปิดแผนที่ดู ปรากฎว่าใกล้กับวัดบรรพตคีรี (ภูจ้อก้อ) นั่นก็คือวัดที่หลวงปู่หล้ามาจำพรรษาอยู่นั่นเอง และหลวงปู่หล้าอยู่ที่นี่จนถึงวาระสุดท้าย ข้าพเจ้าจึงตัดสินใจต้องเดินทางไปวัดหลวงปู่หล้าให้ได้
.
เมื่อตอนเรียนอยู่ระดับปริญญาตรี ได้ฟังอาจารย์วิวัฒน์ กิรานนท์ อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมพุทธศาสตร์และประเพณี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯลาดกระบัง ได้กล่าวถึงหลวงปู่หล้าอยู่หลายครั้ง (อาจารย์วิวัฒน์ เคยบวชอยู่กับหลวงปู่หล้า) แต่ข้าพเจ้าก็ไม่มีโอกาสเลยสักครั้ง ในการไปวัดภูจ้อก้อแห่งนี้
รูป ทางขึ้นไปยังภายในวัด

รูป ทางขึ้นไปยังภายในวัด (ถ่ายภาพจากด้านบน)

รูป ทางขึ้นและทางลง อีกเส้นทางหนึ่ง
.
แต่มาในครั้งนี้ ข้าพเจ้าและครอบครัวได้มากราบนมัสการสถานที่ที่ศักด์สิทธิ์แห่งนี้ ที่ครูบาอาจารย์เคยมาจำพรรษาอยู่แห่งนี้ ถือว่าเป็นสิริมงคลแก่ข้าพเจ้าและครอบครัวเป็นอย่างมาก
.
ข้าพเจ้าเคยเห็นแต่ในรูป "เขมปัตตเจดีย์" ในหนังสือธรรมะ แต่คราวนี้ได้มีโอกาสมากราบนมัสการเจดีย์ที่เก็บอัฐบริขาร เครื่องใช้ของท่านหลวงปู่หล้า
รูปป้ายชื่อเจดีย์ "เขมปัตตเจดีย์"

รูป เจดีย์ "เขมปัตตเจดีย์"
.
ภายในเจดีย์ จะมีรูปเหมือนของหลวงปู่หล้า เขมปัตโต และอัฐิธาตุของหลวงปู่หล้า เพื่อให้พุทธศานิกชนได้กราบไหว้ ระลึกถึงคำสั่งสอนของท่าน
รูป หุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนของหลวงปู่หล้า เขมปัตโต

รูป หุ่นขี้ผึ้งและอัฐิธาตุของหลวงปู่หล้า

รูป ตัวอย่างรูปภาพนิทรรศการชั้นที่1 ภายในเจดีย์เขมปัตตเจดีย์ งานถวายเพลิงศพหลวงปู่

รูป กุฏิของหลวงปู่หล้า

รูป กุฏิของหลวงปู่หล้า (2)

รูป กุฏิของหลวงปู่หล้า (3)

รูป รอบๆ วัดบรรพตคีรี (ภูจ้อก้อ)

รูป รอบๆ วัดบรรพตคีรี (2)

รูป แท็งค์น้ำ

รูป ตัวอย่างกุฏิของวัดบรรพตคีรีท่ามกลางธรรมชาติ

รูป พระพุทธรูปก่อนขึ้นไปบนยอด

รูป พระพุทธรูปก่อนขึ้นไปบนยอด (2)

รูป ที่ล้างบาตรของพระภิกษุสงฆ์

รูป รอบๆวัดท่ามกลางธรรมชาติ

รูป ลานที่จอดรถของทางวัด
.
ความโชคดีของข้าพเจ้ายังไม่หมดเท่านั้น ปรากฎว่ามีผู้ใจบุญ ได้พิมพ์หนังสือชีวประวัติของหลวงปู่หล้าแจกเป็นธรรมทานซึ่งวางแจกอยู่ภายในเจดีย์ (ข้าพเจ้าขออนุโมทนาบุญด้วย) หนังสือเล่มนั้นมีชื่อว่า "พระหล้า เขมปตฺโต" โดยเนื้อกระดาษเป็น "Green Read" หนาพอสมควร ถือว่าโชคดีมากๆ เพราะข้าพเจ้าอยากได้มานานแล้ว เพราะหนังสือของหลวงปู่หล้านั้น ข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่าหาได้ยากพอสมควร ที่จะมีการทำแจกเป็นธรรมทานกัน
.
เมื่อกลับมาถึงบ้าน ตอนเที่ยงคืน ข้าพเจ้าก็ได้หยิบหนังสือเล่มนั้นขึ้นมาอ่านสักพัก จริงๆต้องบอกว่าวางไม่ลงจริงๆ เนื้อหานั้นมีคุณค่ามากจริงๆ ตัวอย่างเช่น หลวงปู่หล้าได้เล่าถึงในช่วงวาระสุดท้ายของหลวงปู่มั่น ซึ่งหลวงปู่มั่นท่านป่วย และต้องย้ายหลวงปู่มั่น จากวัดป่าหนองผืด มายังวัดป่าสุทธาวาส และตัวอย่างอีกช่วงที่ท่านหลวงปู่มั่นมีลมหายใจอ่อนลงเบาบางลง เป็นต้น ข้าพเจ้าไม่สามารถเล่าให้ฟังได้ เพราะหลวงปู่หล้าได้เขียนลึกซึ้งอย่างมาก ผู้สนใจสามารถไปยืมได้ที่ห้องสมุดชมรมพุทธฯ พระจอมเกล้าฯลาดกระบัง (ข้าพเจ้าจำได้ว่าที่ชมรมฯ มีหนังสือเล่มนี้อยู่)
รูป หนังสือ"พระหล้า เขมปตฺโต"
.
อนึ่ง ข้าพเจ้าลืมบอกไปว่า ในช่วงอายุสุดท้ายของหลวงปู่มั่น มีพระอาจารย์ที่ได้อยู่ใกล้ และได้ดูแลองค์หลวงปู่มั่น เช่น ครูบาวัน (ปัจจุบันคือพระอาจารย์วัน อุตตโม) ครูบาทองคำ(หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ) ครูบาสีหา (อดีตพระสีหา สุธัมโม ปัจจุบันคือฆราวาส) รวมถึงครูบาหล้า (ปัจจุบันคือหลวงปู่หล้า เขมปัตโต)
.
หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นและเรียบเรียงโดยหลวงปู่หล้าเอง มีอีกประเด็นที่ข้าพเจ้าอยากฝากไว้และไม่สามารถหาอ่านได้ที่ใด เกี่ยวกับลักษณะพิเศษของหลวงปู่มั่นที่หลวงปู่หล้าได้บันทึกไว้ คือ "ฝาเท้าของหลวงปู่มั่น เต็มไปด้วยตารางหมากรุกทั้งสองฝาเท้า"
.
.
.
.
ข้อความดังกล่าว เป็นลายมือที่ท่านหลวงปู่หล้าได้เขียนด้วยตัวเอง
.
ข้าพเจ้าขอเขียนเล่าเพียงเท่านี้ พอแก่เวลา สวัสดีครับ
.
กิตติวัฒน์ สิริเกษมสุข
17 เมษายน 2553
.
หมายเหตุ รูปทุกรูปสามารถคลิกเลือก เพื่อขยายใหญ่ได้

16 เมษายน 2553

-ไปวัดป่าสุทธาวาส ไหว้พระธาตุพนม

นอกจากในการเดินทางไปทำบุญ ถวายป้ายชื่อและโครงหลังคา กระเบื้อง และเสาเหล็ก ให้แก่ วัดป่าหนองแหวน อ.นาหว้า จ.นครพนม เป็นที่แรกในการทำบุญช่วงปีใหม่ไทย (สงกรานต์) หลังจากนั้น ได้เดินทางกลับมายังตัวเมืองสกลนคร โดยไปกราบพระธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร
.
ตามตำนานกล่าวว่า เป็นสถานที่ชุมนุมหรือประทับรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้งสี่องค์ (พระพุทธกุกกุสันธะ พระพุทธโกนาคมนะ พระพุทธกัสสปะ และพระพุทธโคตมะ) และในอนาคตจะมีพระพุทธเจ้าองค์ที่5 และเป็นองค์สุดท้ายในภัทรกัลป์ คือ พระศรีอริยาเมตตรัย ก็จะมาประทับรอยพระบาทด้วย
รูป พระธาตุเชิงชุม วัดพระธาตุเชิงขุมวรวิหาร อ. เมือง จ. สกลนคร

รูป หลวงพ่อพระแสน วัดพระธาตุเชิงขุมวรวิหาร
.
จากนั้น ข้าพเจ้าและครอบครัวได้เดินทางไปยังวัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร
.
โดยส่วนตัวแล้ว ข้าพเจ้าเองต้องการมานมัสการอัฐิธาตุของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ตั้งนานแล้ว โดยมาสองครั้งก่อนหน้าประตูพิพิธภัณฑ์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ ก็ปิดทั้งสองครั้ง ได้เพียงแค่กราบหน้าประตูเท่านั้น เพราะเนื่องจากมาเย็น
รูป พิพิธภัณฑ์บริขารพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร
.
แต่คราวนี้ข้าพเจ้าสามารถเข้าไปยังพิพิธภัณฑ์ พระอาจารย์มั่น เพื่อกราบนมัสการองค์รูปเหมือนหลวงปู่มั่น และกราบอัฐิธาตุ
รูป รูปเหมือนพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

รูป อัฐิธาตุของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ณ วัดป่าสุทธาวาส
.
จากหนังสือประวัติของหลวงปู่หล้า เขมปัตโต ซึ่งหลวงปู่หล้าเป็นผู้เขียนด้วยตัวเอง และองค์หลวงปู่หล้าท่านได้เป็นศิษย์อีกรูปที่ได้ปรนนิบัติหลวงปู่มั่นในวาระสุดท้าย ได้กล่าวโดยสรุปใจความว่า หลังจากการหลวงปู่มั่นได้ละสังขาร ณ วัดป่าแห่งนี้ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆของหลวงปู่ก็ถูกแจกจ่ายไปยังศิษยานุศิษย์ แต่ต่อมามีการสร้างพิพิธภัณฑ์ของพระอาจารย์ใหญ่ขึ้นมา โดยหลวงตามหาบัว ได้เป็นผู้ไปติดต่อ เจรจา ขอคืนสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆของหลวงปู่มั่นกลับคืนมา ซึ่งของทุกอย่างไม่มีข้อสงสัย ว่าเป็นของหลวงปู่มั่นที่เคยใช้ แต่มีเพียงสิ่งหนึ่งที่หลวงปู่หล้า สงสัยอยู่ นั่นก็คือ "บาตร"
รูป อัฐบริขารต่างๆของพระอาจารย์มั่น
รูป พระอุโบสถ วัดป่าสุทธาวาส
(สถานที่นี้เคยเป็นกุฏิที่พระอาจารย์มั่นมรณภาพ อีกทั้งยังเป็นที่ใช้ในการประชุมเพลิงพระอาจารย์มั่น)
.
ตรงกันข้ามกับพิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น เดินไปหน่อยจะพบกับเจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย จันทสาโร ซึ่งเป็นศิษย์องค์สำคัญของพระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น โดยภายในจะมีรูปเหมือนหลวงปู่หลุย และมีอัฐิธาตุของหลวงปู่หลุย
รูป เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย หรือเรียกว่า “จันทสารเจติยานุสรณ์”

รูป หุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่หลุย จันทสาโร และ อัฐิธาตุของหลวงปู่หลุย ภายในเจดีย์
.
จากนั้นข้าพเจ้าและครอบครัว ได้เดินทางต่อไปยังวัดป่านาคนิมิตต์ หรือวัดป่าบ้านนามน อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร เพื่อกราบหลวงปู่อว้านเขมโก และตามด้วยการกราบนมัสการพระธาตุพนม อ. ธาตุพนม จ.นครพนม
.
โดยในบทความนี้ขอข้ามมายัง พระธาตุพนม นะครับ เพราะบทความก่อนหน้านี้ ได้พูดถึงการไปทำบุญที่วัดป่านาคนิมิตต์มาแล้วครับ
รูป ประตูทางเข้าพระธาตุพนม

รูป พระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม

รูป ประตูทางเข้า กับพระธาตุพนม
.
เพิ่มเติมเกร็ดความรู้สักเล็กน้อย ตามหนังสือประวัติหลวงปู่มั่น ได้กล่าวว่า เมื่อก่อนบริเวณแห่งนี้ไม่มีใครเหลียวแล เป็นที่รกล้าง ไม่มีใครรู้จัก ต่อมาหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นได้ ธุดงค์มาพำนักที่นี่ พอตกเวลากลางคืนปรากฏมีแสงผุดขึ้นออกจากยอดเจดีย์ หลวงปู่เสาร์ จึงพูดว่าที่พระเจดีย์นี้ต้องมีพระบรมสารีริกธาตุอย่างแน่นอน จึงได้ชักชวนญาติโยมทั้งหลาย ได้มาช่วยกันถากถางทำความสะอาด ชาวบ้านชาวเมืองต่างก็พากันปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบรรจุอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่ภายใน
.
ซึ่งเป็นที่น่าแปลก หนังสือประวัติของทางวัดจะไม่มีการระบุถึงเลย เกี่ยวกับเรื่องนี้ ครับก็เป็นเกร็ดความรู้เล็กน้อยๆที่มาฝากกันครับ
.
โดยบทความถัดไปนั้น ข้าพเจ้ายังได้เดินทางไปจ.มุกดาหาร เพื่อไปวัดบรรพตคีรี(ภูจ้อก้อ) และกราบนมัสการเขมปัตตเจดีย์ ซึ่งมีรูปเหมือนของหลวงปู่หล้า เขมปัตโต และอัฐิธาตุของหลวงปู่หล้า
.
กิตติวัฒน์ สิริเกษมสุข
16 เมษายน 2553
.
หมายเหตุ รูปทั้งหมดที่ลงในบทความนี้ เป็นรูปที่ข้าพเจ้าถ่ายเองจากกล้องในมือถือ นั่นความถึงเป็นรูป ณ ปัจจุบันนั่นเองครับ