20 ตุลาคม 2552

- ความจำไม่เที่ยง

เมื่อมีโอกาสได้เห็นผู้ที่สูงอายุในโอกาสต่างๆ เช่นที่โรงพยาบาล เวลาไปเยี่ยมญาติๆ เมื่อพูดถึงความจำแล้ว เขาเหล่านั้นก็จำได้บ้าง จำไม่ได้บ้าง บางคนก็ยังมีความจำที่ดีอยู่ บางคนก็หลงๆลืมแล้ว เช่น ลืมลูกหลานตัวเองบ้าง
.
เมื่อย้อนกลับมาถึงตัวเราเองนะตอนนี้ ถามว่า เรียนหนังสือตั้งเยอะตั้งแยะ แล้วส่วนใหญ่ก็ไกลตัว ยิ่งเรียนก็ยิ่งไกลตัว แล้วสุดท้ายตอนแก่อย่างไงต่อ ........... ถ้ายังไม่ตายก่อน ก็ปลดเกษียณ แล้วจากนั้น อีกไม่นานก็อาจจะตามด้วยความจำได้ที่ไม่เที่ยง จนสุดท้ายก็อาจจะหลงๆลืมๆ อย่าพูดถึงตอนนั้นเลย พอถึงเวลาปลดเกษียณ วิชาความรู้ต่างๆที่ล้ำเรียนมาคงไม่มีใครเขาเรียกใช้ เอาความรู้ใหม่ๆสดไฟแรงอย่างคนหนุ่มๆดีกว่า
.
หลายๆคนบอกว่าต้องเรียนหนังสือด้วยความเข้าใจเลย จึงจะไม่ลืม ต้องตอบไว้ก่อนว่า "ถูกต้องครับต้องเรียนหนังสือด้วยความเข้าใจ" แต่ตอนแก่สิ่งที่เรียนด้วยความเข้าใจ จะลืมไหม??
เนื่องจากสัญญาไม่เที่ยง หรือความจำไม่เที่ยง
.
ก็มีหลายๆท่านที่อายุมากขึ้น ท่านเหล่านั้นก็ยังสามารถพูดสอนหรือเทศน์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ เช่น หลวงตามหาบัว ก็อายุ 96-97 ปีแล้ว แต่ท่านก็ยังมีสัมปัชชัญญะ เทศนา อบรม ได้อย่างครบถ้วน
.
หลายๆครั้ง ก็เป็นสิ่งที่จะหาสาเหตุได้ยากนะว่าทำไม ทำไมบางท่าน บางคนยังมีความจำ สติสัมปัณญยะ ที่ดีอยู่ แต่บางคนอายุมากขึ้นก็เกิดอาการหลงๆลืมๆแล้ว ?? อาจจะเป็นผลมาจาก ศีล และบุญที่ติดตัวมาจากอดีต (ที่ยาวนาน)
.
ที่กล่าวมาตั้งเยอะนั้น พอดีตอนนี้ผมก็กำลังเรียนปริญญาเอกอยู่ ก็เหนื่อยสักหน่อย แล้วชอบถามว่า "ทำไมต้องเรียนมากมายด้วย" แล้วบ่นต่อว่า "ตอนแก่ก็ลืมหมด"
แต่ก็ไม่มีทางเลือกครับ ก็เรียนเพื่อไปประกอบอาชีพการงาน ในช่วงวัยกลางๆของชีวิตนั่นเอง หรือจะบอกว่าเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศชาติก็ได้......
.
จริงๆปัจจุบันนี้ ในสมัยนี้ ผู้คนเกิดมาก็ต้องเรียน ซึ่งเรียนมาขั้นต่ำก็ต้องปริญญาตรี กว่าจะจบก็อายุประมาณ 20 ปี ตั้ง 20 ปีของชีวิต ดังนั้นชีวิตต้องไม่มีแต่เรื่องเรียนอย่างเดียว ต้องมี "เรื่องของการทำดี" อยู่ในช่วงที่เรียนด้วย ไม่เช่นนั้นเวลาในการใช้ชีวิตก็จะผ่านไปเปล่า
.
ไม่ว่าจะเป็น "ทาน" หรือ "ศีล" ก็ตาม หรือ ตามแนวทางแห่ง "มงคลชีวิต" และ "บารมี 10 ทัศ" ก็ตาม
.